การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขังในประเทศไทย: บทวิเคราะห์รูปแบบกฎหมายที่สอดคล้องกับระบบงานราชทัณฑ์ และลักษณะที่สำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง
The Protection of Prisoners’ Personal data in Thailand: An Analysis of Legal Models Regarding the Corrections System and the Imperative Nature of Prisoners’ Personal Data
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง เพื่อวิเคราะห์รูปแบบกฎหมาย ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขังที่สอดคล้องกับระบบงานราชทัณฑ์และลักษณะที่สำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ต้องขังในประเทศไทยโดยมีคำถามวิจัยว่าประเทศไทยควรมีกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง อย่างไรและภายใต้สมมุติฐานว่ากฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขังในประเทศไทยไม่เหมาะสม และ มีการคุ้มครองที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากลและกฎหมายของนานาอารยประเทศงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารใช้วิธีพรรณนา วิเคราะห์โดยการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง ในประเทศไทยกับมาตรฐานสากลและกฎหมายต่างประเทศการศึกษาพบว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง ในประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎหมายดังกล่าวไม่สอดคล้อง กับลักษณะข้อมูลของผู้ต้องขัง ขาดบทบัญญัติคุ้มครองข้อมูลอ่อนไหวและไม่สอดคล้องกับระบบงานราชทัณฑ์ผู้วิจัย ได้เสนอแนะให้แก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พ.ศ. 2560 เพิ่มเติมหมวดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง มีการจำแนกข้อมูลของผู้ต้องขังให้ชัดเจนตามประเภทการเก็บรวบรวม การใช้งานและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สอดคล้อง กับมาตรฐานสากล กฎหมายของนานาอารยประเทศและภารกิจของกรมราชทัณฑ์