มาตรการทางกฎหมายอาญาในการคุ้มครองผู้สูงอายุ ที่เป็นผู้เสียหายจากการถูกทอดทิ้ง

Legal Measures of Criminal Law to Protect the Elderly Victims of the Crime of Negligence

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์(1)ศึกษาความหมายแนวคิดและทฤษฎีในการคุ้มครองผู้เสียหายความหมายแนวคิด และหลักการคุ้มครองผู้สูงอายุ ทฤษฎีการกระทำความผิดต่อผู้สูงอายุสาเหตุและปัจจัยของการกระทำผิดต่อผู้สูงอายุ ผลกระทบที่เกิดแก่ผู้สูงอายุความหมายและรูปแบบการกระทำผิดต่อผู้สูงอายุ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการทอดทิ้ง ผู้สูงอายุและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์(3) วิเคราะห์ถึงปัญหากฎหมายเกี่ยวกับ การทอดทิ้งผู้สูงอายุ (4) ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทอดทิ้งผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากบทบัญญัติของกฎหมาย ตำรากฎหมาย บทความ ทางวิชาการ คำพิพากษา ความเห็นทางกฎหมาย เว็บไซต์และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 307 มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองการทอดทิ้ง เฉพาะผู้พึ่งตนเองมิได้ที่มีเหตุจากการสูงวัยโดยมิได้คุ้มครองผู้สูงอายุจากการทอดทิ้งเป็นการเฉพาะไม่มีนิยามของคำว่า “ผู้สูงอายุ”“ผู้พึ่งตนเองมิได้”และ“ทอดทิ้ง”ไม่มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองกรณีถูกทอดทิ้งจนน่าจะเป็นเหตุให้ได้รับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ดูแลจะต้องรับผิดจากการกระทำของผู้อื่นที่มีต่อผู้สูงอายุและไม่มีบทบัญญัติ ให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อได้กระทำการทอดทิ้งต่อเนื่องกัน รวมถึงไม่มีนิยามของการกระทำผิดต่อเนื่องไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา(2)สหรัฐอเมริการัฐแคลิฟอร์เนียมีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุจากการทอดทิ้ง มีบทนิยามของ“ผู้สูงอายุ”“ผู้ที่พึ่งตนเองมิได้”และ“ทอดทิ้ง” รวมถึงมีบทบัญญัติให้ผู้กระทำผิดมีหน้าที่ควบคุมไม่ให้ผู้อื่นกระทำผิด ต่อผู้สูงอายุและมีบทบัญญัติให้การกระทำทอดทิ้งจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ส่วนประเทศสิงคโปร์มี นิยามของ “บุคคลที่เปราะบาง” และ “ทอดทิ้ง” มีบทบัญญัติให้การกระทำทอดทิ้งจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายกรณีอื่น มีบทบัญญัติให้ผู้กระทำที่มีหน้าที่ดูแลต้องป้องกันไม่ให้ผู้อื่นกระทำต่อบุคคลที่เปราะบาง รวมทั้งมีบทบัญญัติให้ผู้กระทำ ต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อได้กระทำผิดต่อเนื่อง และมีนิยามของการกระทำผิดต่อเนื่อง (3) ผู้วิจัยวิเคราะห์และพบปัญหา ว่า ประมวลกฎหมายอาญาปราศจากบทบัญญัติในการคุ้มครองผู้สูงอายุจากการทอดทิ้งในหลายประเด็น และไม่ได้มีการ ปรับปรุงแก้ไขให้เท่าทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับบทบัญญัติกฎหมายของสหรัฐอเมริการัฐแคลิฟอร์เนีย และประเทศสิงคโปร์ที่มีบทบัญญัติดังกล่าวครอบคลุมหลายประเด็นตามที่กล่าวข้างต้น (4) ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางใน การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยกำหนดให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองจากการถูกทอดทิ้งเป็นการ เฉพาะ กำหนดนิยามของคำว่า “ผู้สูงอายุ” “ผู้พึ่งตนเองมิได้” และ “ทอดทิ้ง” เพิ่มขอบเขตของการกระทำทอดทิ้ง กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลที่ปล่อยปละละเลยให้ผู้อื่นกระทำต่อผู้สูงอายุหรือผู้พึ่งตนเองมิได้และกำหนดความ รับผิดจากการกระทำผิดต่อเนื่อง รวมถึงนิยาม “การกระทำผิดต่อเนื่อง” เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองจากการถูก ทอดทิ้งตามกฎหมายและตามหลักการแห่งสหประชาชาติสำหรับผู้สูงอาย