ปัญหาทางกฎหมายในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา : ศึกษากรณีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นพนักงานสอบสวน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นพนักงานสอบสวนของอนุสัญญา ระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย (2) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการบริหาร จัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นพนักงานสอบสวน ได้แก่ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และพยานในทางคดีอาญา (3) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ข้อเสนอแนะในการกําหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และพยานทางคดีอาญาได้ จากการศึกษาพบว่า แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสํานักงานตํารวจ แห่งชาติได้มีประกาศ เรื่องนโยบายด้านแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม แต่ข้อมูลส่วนบุคคลในขั้นพนักงาน สอบสวนดังกล่าว ยังไม่ได้รับการคุ้มครองที่เพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จึงก่อให้เกิดประเด็นปัญหาทาง กฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นพนักงานสอบสวนที่สําคัญดังนี้ (1) ปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นผลมาจากการที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติได้รับการยกเว้นมิให้นําพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ตามมาตรา 4 (2) มาใช้บังคับ เนื่องจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการ รักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาความปลอดภัยของประชาชน เป็นต้น และตามมาตรา 4 (5) มิให้นํามาใช้บังคับในการ ดาเนินการของเจ้าหน้าที่ในระหว่างขั้นตอนดําเนินการยุติธรรมทางอาญา (2) ปัญหาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มิได้กําหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ครอบคลุมถึงผู้เสียหาย ผู้ต้องหา พยานในทาง คดีอาญา ซึ่งตามบทบัญญัติให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว เช่นเดียวกับข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป อีกทั้งอัตราโทษ ที่ได้กําหนดไว้นั้นไม่ได้สัดส่วน ไม่มีความเหมาะสม เพราะข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เป็นข้อมูล ส่วนบุคคลประเภทพิเศษ และ (3) ปัญหาเจ้าหน้าที่ตํารวจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละส่วนงาน ในสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติขาดองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นพนักงาน สอบสวน คือ (1) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในส่วนของบทนิยามศัพท์ โดยนําข้อมูลบุคคล ทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และพยานทางคดีอาญา มาบัญญัติเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือ “ข้อมูลส่วนบุคคลประเภทพิเศษ” (2) แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของอัตราโทษเมื่อมีการละเมิด “ข้อมูลส่วนบุคคลประเภท พิเศษ” ให้มีสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราโทษที่ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนบุคคลประเภททั่วไป คือ กําหนดให้ต้องรับโทษเพิ่มขึ้น ในอัตราโทษสองในสามจากอัตราโทษเดิมที่ได้บัญญัติไว้ และ (3) ให้กําหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ในระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.....