วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช
STOU JOURNAL OF LAW
หน้าหลัก
Login เข้าสู่ระบบ
เกี่ยวกับวารสาร
ความเป็นมา
กองบรรณาธิการ
วิธีการส่งบทความ
Template บทความวิจัย
Template บทความวิชาการ
คำแนะนำในการส่งบทความ
จริยธรรมการตีพิมพ์
ค้นหาฉบับย้อนหลัง
ติดต่อเรา
Login
|
สมัครเพื่อใช้งานระบบ และ ส่งบทความ
|
จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
1. มีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์มาแล้ว
2. กองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยชื่อของผู้เขียนต่อผู้ประเมินและในทางกลับกันจะต้องไม่เปิดเผยชื่อ ผู้ประเมินต่อผู้เขียน
3. กองบรรณาธิการจะต้องพิจารณาคัดเลือกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์อย่างมีระบบ เป็นธรรม และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้เขียนและผู้ประเมิน
4. หากกองบรรณาธิการตรวจสอบพบว่าบทความที่ผู้เขียนได้นำเสนอมีการคัดลอกมาจากผลงานของผู้อื่นหรือมีการปลอมแปลงข้อมูล หรือกระทำการอื่นใดในทางที่มิชอบ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย กองบรรณาธิการมีสิทธิปฏิเสธการตีพิมพ์ รวมทั้งมีสิทธิในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเรียกร้องร้องค่าเสียหาย การแจ้งต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อาจถูกกระทบสิทธิ เป็นต้น
5. กองบรรณาธิการต้องจัดทำวารสารให้แล้วเสร็จปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เขียน
1. ผลงานที่ผู้เขียนส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น
2. ผลงานที่ผู้เขียนส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นการลอกเลียนผลงานวิชาการ (plagiarism) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น อีกทั้งผลงานของผู้เขียนจะต้องมีการอ้างอิงผลงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน
3. ผลงานที่ผู้เขียนส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะเป็นผลงานที่มีคุณประโยชน์ในทางวิชาการ ไม่เป็นการสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อมูลต่างๆ
4. ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการกระทำของผู้เขียนเอง อาทิ การคัดลอกผลงาน การส่งผลงานตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ฯลฯ
5. ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ (authorship) อย่างเคร่งครัด กล่าวคือ จะต้องมีการระบุชื่อผู้เขียนหรือชื่อผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีส่วนร่วมในงานดังกล่าว และหากมีผู้เขียนหลายคน ผู้เขียนทุกคนจะต้องเห็นชอบกับต้นฉบับบทความและเห็นชอบกับการส่งต้นฉบับต่อกองบรรณาธิการ
บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประเมิน
1. ผู้ประเมินจะต้องประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา เป็นกลาง เที่ยงธรรม ไม่มีอคติ
2. ผู้ประเมินจะต้องประเมินผลงานตามแบบการประเมินที่กองบรรณาธิการจัดเตรียมไว้ให้ และส่งผลการประเมินให้ตรงตามเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนดไว้
3. ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ในบทความที่ได้รับแก่บุคคลภายนอก หรือกระทำการอื่นใดที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่กองบรรณาธิการหรือผู้เขียน
4. ในกรณีที่ผลประโยชน์ทับซ้อนต่อเนื้อหาของบทความหรือต่อผู้เขียน ผู้ประเมินจะต้องแจ้งต่อ กองบรรณาธิการให้ทราบโดยเร็ว