แนวทางการนําหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้ในประมวลกฎหมายอาญา

Adoption of Value-Based Confiscation in The Criminal Code

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ปัญหา ตลอดถึงหลักการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการนําหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้ในประมวลกฎหมายอาญา โดยศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับ ทรัพย์สินตามมูลค่าของสหราชอาณาจักรและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนํามาตรการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผลการศึกษาพบว่า การริบทรัพย์สินเป็นโทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ศาลจะใช้ลงโทษแก่ผู้กระทําความผิด ซึ่งโทษริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยนั้นมีทั้งแบบบังคับให้ศาลสั่งริบโดยเด็ดขาดและกรณีศาลสั่งริบโดย ใช้ดุลพินิจ ซึ่งการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มีหลักว่าทรัพย์สินที่จะถูกริบนั้นต้องเป็นทรัพย์ที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้หรือได้มาโดยการกระทําความผิดนั้นต้องเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด และทรัพย์สินที่รับจะต้องมีอยู่ในขณะที่ศาลมีคําพิพากษาให้ริบ แต่ในทางปฏิบัติศาลมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาริบทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงด้วย ทําให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ เนื่องจากในคดีที่มีข้อเท็จจริงและลักษณะ คล้ายคลึงกัน แต่ผลคําพิพากษากลับแตกต่างกัน ส่วนกฎหมายของสหราชอาณาจักรใช้วิธีการริบทรัพย์สินตามมูลค่าเป็น หลัก ในกรณีการริบทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทําความผิดตามมูลค่า หากความปรากฏแก่ศาลว่าผู้กระทําความผิดมีวิถีชีวิตแบบอาชญากร และกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้วิธีการริบทรัพย์สินแบบเจาะจงตัวทรัพย์สิน ร่วมกับการริบทรัพย์สินตามมูลค่า ซึ่งหลักการดําเนินคดีรับทรัพย์สินมีการฟ้องคดีอาญาและขอให้ริบทรัพย์สินเช่นเดียวกัน กับของประเทศไทย แต่มีรายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับการริบทรัพย์สินและบทลงโทษ ที่แตกต่างกัน เช่น มีหลักสัดส่วนของโทษและการริบทรัพย์สินของบุคคลที่สาม ผู้ศึกษาเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์ ประกอบการพิจารณาของศาลโดยคํานึงถึงว่าจําเลยได้ใช้ทรัพย์ในลักษณะที่เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิดโดยตรงหรือไม่ การริบทรัพย์เป็นไปตามหลักสัดส่วนของโทษหรือไม่ ผู้กระทําความผิดมีโอกาสที่จะนําทรัพย์นั้นไปใช้ในการกระทําความผิดได้อีกหรือไม่ โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนของการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ในฉบับปัจจุบัน โดยการนําหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญาจะทําให้ศาลมีอํานาจในการกําหนดมูลค่าของทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาจากการกระทําความผิดหรือสั่งให้ริบทรัพย์สิน อื่นของผู้กระทําความผิดเทียบกับมูลค่านั้น ซึ่งจะทําให้ผู้กระทําความผิดไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการกระทําความผิด ทั้งนี้ เพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมในการบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติต่อไป