ปัญหาทางกฎหมายในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน ของหน่วยงานรัฐโดยประชาชน านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
Legal Problems in Examing the Use of the National Budget by Government Agencies by the People according to the Constitution of the Kingdom of Thailand Buddhist Era 2560
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาในการตรวจสอบการใช้ งบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานภาครัฐโดยประชาชน ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้งบประมาณ แผ่นดินศึกษามาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน ของหน่วยงานภาครัฐโดยประชาชน วิเคราะห์ปัญหาในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินโดยประชาชน โดยการกําหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จากการศึกษาพบว่า การตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 238 ถึง 245 กําหนดให้เป็นภารกิจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีผู้ว่าการตรวจเงิน แผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอํานาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2551 ถือได้ว่าระบบการตรวจสอบ การใช้งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยได้มาตรฐาน ตามหลักการตรวจเงินแผ่นดินสากล แต่การทุจริตคอร์รัปชั่นเกี่ยวกับการใช้งบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานภาครัฐ ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าระบบการตรวจสอบการใช้ งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ประชาชนจึงตระหนักถึงปัญหานี้และ พยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานรัฐตามสิทธิ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น แต่ในทางปฏิบัติก็ยังคงมีปัญหาที่ทําให้การตรวจสอบไม่ประสบผลสําเร็จ (1) เนื่องจากกฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนไว้กว้างจนเกินไป และ (2) กฎหมายอื่นที่บังคับใช้ยังเป็นอุปสรรคกับการใช้ สิทธิในการตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาดังนี้ (1) ควรมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิของประชาชนในการ ทําหน้าที่ตรวจสอบ โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ในหมวดองค์กรอิสระ รับรองให้องค์กรภาคประชาชนเป็น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญออกตามมาเพื่อกํากับอีกที หรือ (2) บัญญัติ กฎหมายเฉพาะเพื่อให้อํานาจแก่ประชาชนในการตรวจสอบในรูปพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการตรวจสอบ การทุจริตภาครัฐ และดําเนินการยกเลิกหรือแก้ไขบทบัญญัติที่เป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบการทุจริตของภาครัฐของ ประชาชน