ปัญหาในทางกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตภายใน 72 ชั่วโมง.... จนพ้นภาวะวิกฤต ตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP
Legal problems regarding the criteria for providing coverage for critical emergency patients within 72 hours or until the crisis is over under the "Universal Coverage for Emergency Patients" policy or UCEP
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามนโยบายภาครัฐของประเทศไทย (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนมีการ ส่งต่อทั้งของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (3) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” หรือ UCEP และ (4) เสนอแนะแนวทาง การปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกําหนดค่าใช้จ่ายในการ ดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต พ.ศ. 2560 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัย วิจัยเอกสาร โดยผู้วิจัยได้ทําการศึกษาจากตัวบทกฎหมาย ตํารา เอกสารวิชาการต่างๆ เช่น บทความ วารสาร รายงานการวิจัย และคําพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องเพื่อนํามาใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) จากแนวคิดหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินของนโยบายภาครัฐ ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” หรือ UCEP พบว่าประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือผู้ที่มีอาการ เจ็บป่วยเข้าข่ายฉุกเฉินสีแดงและมีความเสี่ยงต่อชีวิตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือจนพ้นภาวะวิกฤต (2) พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มาตรา 28 กําหนดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนการส่งต่อไว้ซึ่งเป็นไปในทํานองเดียวกันกับ กฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน (3) จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนที่เจ็บป่วย ฉุกเฉินวิกฤต ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” หรือ UCEP พบว่า แม้มาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อ ประชาชนผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นอย่างมาก แต่สําหรับเงื่อนไขการปฏิบัติเมื่อครบ 72 ชั่วโมง ตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 11 กลับเป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งทางปฏิบัติในผู้ป่วยบางราย โดยมาตรการที่กําหนด ขึ้นนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แต่เป็นกลไกเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุนเท่านั้น หลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของประชาชน (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะแนว ทางในการปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขยายความคุ้มครองให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้ รับการรักษาพยาบาลจนกว่าจะพ้นจากภาวะฉุกเฉินหรือพ้นจากภาวะอันตรายก่อนจะมีการส่งต่อ