การพิจารณาเหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็นที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างในระหว่างการหยุดกิจการชั่วคราวของนายจ้างในช่วงโควิด-19 ตามมาตรา 75 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

Force Majeure or Necessity causing business incapability to operate as normal during under section 75 of the Labour Protection Act (B.E. 2541)

บทคัดย่อ

โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีกิจการจำนวนมากต้องประสบปัญหาในการดำเนินกิจการและหยุดกิจการชั่วคราวทั้งจากคำสั่งของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากการขาดรายได้หรือวัตถุดิบ นายจ้างจำนวนมากที่หยุดกิจการชั่วคราวได้อ้างโควิด- 19 และมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุสุดวิสัยและไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างที่ไม่ได้ค่าจ้างได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ผลการศึกษาพบว่ามีปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตีความและการบังคับใช้ “ความจำเป็น” และ “เหตุสุดวิสัย” ตามมาตรา 75 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในประเด็นที่เกี่ยวกับนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเพราะคำสั่งของรัฐบาล นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเองเพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และนายจ้างหยุดกิจการเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล บทความนี้ได้ศึกษาหลักการของจากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคำพิพากษา เอกสารทางวิชาการ ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายแรงงานและเสนอแนวทางการตีความและการใช้มาตรา 75 ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายให้มากที่สุด